อบต.หนองปลิง ขอประชาสัมพันธ์มาตราการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ข้อมูลจากกองระบาด กรมควบคุมโรค รายงานจำนวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสชิกาทั่วประเทศ จำนวน ๔๙๕ ราย โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด ๕ จังหวัด ได้แก่ จ้งหวัดจันทบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดตราด จังหวัดแพร่ และจังหวัดระยอง ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสชิกา จึงขอ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารความเสี่ยง ดังนี้
๑. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นโรคที่สามารถติดต่อและแพร่เชื้อได้ โดยเชื้อสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการมีเพศสัมพันธ์ และการถ่ายเลือด โดยมีบุคคลกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
(๑) หญิงตั้งครรภ์
(๒) วัยทำงานอายุ ๒๕ - ๕๔ ปี
(๓) เด็กวัยเรียนอายุ ๕ - ๑๔ ปี
๒. อาการของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
(๑) มีไข้
(๒) มีผื่นแดงแบบ Maculopapular
(๓) ปวดศีรษะ
(๔) เยื่อบุตาอักเสบ
(๕) ตาแดง
(๖) ปวดข้อ
(๗) ต่อมน้ำเหลืองโต
(๘) อุจจาระร่วง
๓. การป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสชิกา ดังนี้
การเทน้ำทิ้ง หรือครอบฝาภาชนะที่สมารถบรรจุน้ำ เพื่อไมให้มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
(๑) กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งในบ้านและบริเวณบ้าน โดยการทำความสะอาด
(๒) พักผ่อนให้เพียงพอ
(๓) ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวให้มิดชิต และใช้ยาทา
ป้องกันยุงกัด
(๔) นอนกางมุ้ง และติดมุ้งลวดที่ประตู หน้าต่าง
📢 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงขอประชาสัมพันธ์ สัญญาณมือขอความช่วยเหลือสากล (Signal for Help) เป็นแนวทางป้องกันตัวเอง และขอความช่วยเหลือ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ให้ได้รับทราบ และใช้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อตัวผู้ขอความช่วยเหลือ และเพื่อสอดส่อง สังเกต และเข้าช่วยเหลือ แจ้งหน่วยงานรับผิดชอบ ได้อย่างทันท่วงที โดยมีวิธีการ ส่งสัญญาณ ดังนี้
1. เก็บนิ้วโป้งลง และผายฝ่ามือออกจากตัวผู้ขอความช่วยเหลือ
2. กำนิ้วทั้งสี่ลงมา ลักษณะแบบกำปั้น
3. ชูนิ้วทั้งสี่อีกครั้ง
4. ทำซ้ำๆเพื่อขอความช่วยเหลือ
ประกาศองค์การบริหาร่สวนตำบลหนองปลิงเรื่อง การขยายกำหนดเวลาดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ประจำปี พ.ศ.2567
การขยายระยะเวลาดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี 2567
ประชาสัมพันธ์การป้องกันดูแลตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายในชุมชน เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสกา และการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรคในข่วงฤดูฝน