ความหมายและสัญลักษณ์ของ อถล.
อถล. เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในท้องถิ่นที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
“อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า ประชาชนที่มีจิตอาสา สมัครใจ เสียสละ และอุทิศตน เพื่อช่วยเหลืองานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้อง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ชื่อย่อว่า “อถล.” มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV”
“เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า การเชื่อมโยงกันของ อถล. เพื่อการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร หรือทํากิจกรรมร่วมกัน ในการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วยความเป็นอิสระและเท่าเทียมกันของบุคคล ภายใต้พื้นฐานการเคารพสิทธิและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และใช้หลักธรรมาภิบาลในการทํางานร่วมกัน โดยใช้ชื่อย่อว่า “เครือข่าย อถล.” และเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer Network” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV-Net"
ประชาสัมพันธ์ Line Official Account กองทุนธนาคารขยะตำบลหนองปลิง ♻️ขอเชิญชวนแอดไลน์ เพื่อติดตามข่าวสาร สอบถามข้อมูล https://lin.ee/soffJOK
ด้วยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ได้จัดทำรายงานผลการสำรวจความคิดเห็นต่อการจัดสวัสดิการที่เป็นมิตรต่อครอบครัวและแนวทางเพื่อสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว พร้อมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยนำสถาบันครอบครัวเป็นฐานของ การพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของสังคมผ่านกิจกรรมการรณรงค์ให้ "วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว" องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง จึงประชาสัมพันธ์แนวทางการขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่น "วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว" เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมให้บุคลากรากร ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีการทำกิจกรรมร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัวเพื่อเสริมสร้างสัมพันภาพที่ดี รายละเอียด ข้อมูล ตามไฟล์ที่แนบมาด้วย
สถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศที่มีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศ ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Particulate matter : PM 2.5) ซึ่งเป็น
ภัยสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการคุกคามสุขภาพของประชาชน หากได้รับ PM 2.5 เข้าไปในร่างกายส่งผลให้มีความสี่ยงต่อสุขภาพหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองคอ ไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ใจสั่น ระคายเคืองตา หรือเป็นผื่นคันตามร่างกาย และหากสัมผัสฝุ่นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ป่วย ๔ กลุ่มโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง โรคหัวใจและหลอดเลือต โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนังอักเสบ และโรคตาอักเสบอาจจะมีอาการผิดปกติ เจ็บป่วย หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่มีความรุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไป
จึงขอประชาสัมพันธ์ แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM 2.5 ดังนี้
๑. ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ การประกาศแจ้งเตือนพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังผลกระทบ
ต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศจากสื่อต่าง ๆในพื้นที่ ได้แก่ โทรทัศน์ท้องถิ่น วิทยุชุมชน แอปพลิเคชั่น Air4Thai เป็นต้น โดยให้สังเกตสีเป็นหลัก หากเป็นสีส้มและสีแดง เป็นค่าฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐาน และมีผลกระทบต่อสุขภาพควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
๒. ประเมินตนเองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ เช่น มีอาชีพอยู่กลางแจ้งต้องสัมผัสฝุ่นเป็นเวลานานหรืออาศัยในพื้นที่เสี่ยง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบ หัวใจและหลอดเลือด
หากพบว่าเข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นและหมั่นดูแลป้องกันตนเองเป็นพิเศษ
๓. ในช่วงที่ฝุ่นละอองสูง ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมนอกบ้าน
๔. หากจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีฝุ่นสูง ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากาก N95 และต้องสวมใส่ให้ถูกวิธี
๕. หากมีอาการระคายเคืองตาหรือแสบต า ไม่ควรขยี้ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด สำหรับผู้ที่เป็นต้อลม ต้อเนื้อ หรือภูมิแพ้บริเวณดวงตา รวมทั้งผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ ควรหาแว่นตาที่มีขอบด้านบนและด้านข้าง และหากมีอาการผิดปกติ เช่น คันตามาก ตาแดงมาก มีขี้ตาสีเขียวหรือเหลือง หรือตามัวลงให้รีบไปพบจักษุแพทย์
๖. ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ โดยการเช็ด/ถู แบบเปียก และเปิดพัดลมให้อากาศหมุนเวียน
๗. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงเช้า และบริเวณที่มีฝุ่นสูง เช่น ริมถนน และห้ามสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นทุกชนิดขณะออกกำลังกายโดยเด็ดขาด หรือเปลี่ยนสถานที่ออกกำลังกายเป็นที่บ้าน
๘. ดื่มน้ำสะอาด และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
๙. สังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย หากพบว่ามีอาการไอ แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดต่อที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2567 กรมควบคุมโรค ประชาสัมพันธ์ให้เฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดของโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ และภัยสุขภาพ ที่เกิดในช่วงฤดูร้อน