ส่วนที่ ๑
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
๑. ด้านกายภาพ |
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบล
ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองมหาสารคาม ระยะห่างจาก
อำเภอ 11 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 15,145 ไร่ หรือประมาณ 18.65 ตารางกิโลเมตร โดยติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลดอนหว่าน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของตำบลหนองปลิง โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบและเนินสลับกับที่ราบสูงซึ่งเป็น
ลูกคลื่นและสูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณ 170-200 เมตร สภาพภูมิประเทศของตำบลหนองปลิง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- พื้นที่ค่อนข้างราบส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณทิศเหนือของตำบล ซึ่งอยู่ในเขตหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 เป็นบางส่วน
- ที่ราบลุ่มสลับที่ดินส่วนใหญ่อยู่บริเวณทิศใต้ของตำบลหนองปลิง ซึ่งครอบคลุมบริเวณหมู่ที่ 1,2,3,4,7 และ 8 ซึ่งเหมาะในการทำนาและปลูกพืชสวน
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มีฝนตกสลับกันอากาศแห้ง แบ่งเป็น 3 ฤดู ดังนี้
-ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศโดยทั่วไปจะ
หนาวเย็นและแห้ง หนาวจัดในบางวัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคมจะเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นมากที่สุด
-ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นที่มีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวที่สุดของปี
-ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเอาความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรมาปกคลุมประเทศไทย โดยมีร่องความกดอากาศที่พาดอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
1.4 ลักษณะของดิน
สภาพดิน มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายและเป็นดินเค็ม ดินอุ้มน้ำไม่ดี อินทรียวัตถุที่เป็นธาตุอาหารของพืชในดินต่ำ ทั้งยังขาดการปรับปรุงบำรุงดินอย่างถูกวิธี หรือแม้กระทั่งการใช้สารเคมีสะสมมาเป็นเวลานาน ทำให้ดินเสื่อม
2. ด้านการเมือง การปกครอง |
2.1เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง มีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตจำนวน 8 หมู่บ้าน
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ตำแหน่ง | ชื่อ-สกุล |
1 | บ้านหัวนาคำ | ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 | นายสมพร เมืองนนท์ |
2 | บ้านป่ากุง | ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 | น.ส.เยาวภา ตะวัน |
3 | บ้านหนองคู | ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 | นายประวิทย์ สุธรรม |
4 | บ้านจำนัก | ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 | นายสมควร ภูสีฤทธิ์ |
5 | บ้านโคกศรี | ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 | นายสนิท อุทัยแสน |
6 | บ้านหนองปลิง | กำนันตำบลหนองปลิง | นายสมพงษ์ เดชบุรัมย์ |
7 | บ้านโนนสมบูรณ์ | ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 | น.ส.สริตา จันทร์คูนอก |
8 | บ้านศรีวิลัย | ผู้ใหญ่บ้าน ม.8 | นายเสถียร พะโคสี |
2.2 การเลือกตั้ง ประชากร 5,153 คน ผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทย 6 คน รวมประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,143 คน คิดเป็น 80.49 % ทำเนียบผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง (ข้อมูล ณ เดือน วันที่ 1 ถึง 25 พฤษภาคม 2564)
ทำเนียบนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง
คนที่ | ชื่อ-สกุล | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | นายพันธ์ ศรีบุญเรือง | 2540 - 2544 |
2 | นายทูร เทวะสิงห์ | 2 ก.ค. 2544 - 1 ก.ค. 2548 |
3 | นายระเบียบ ตะวัน | 31 ก.ค. 2548 - 30 ก.ค. 2552 |
4 | ร้อยเอกทองใบ หาไชยอินทร์ | 6 ก.ย. 2552 - 5 ก.ย. 2556 |
5 | นายสุรศักดิ์ จูมศรีสิงห์ | 20 ต.ค. 2556 - 1 ตุลาคม 2564 |
6 | นายทวีศักดิ์ อุทัยดา | 25 ม.ค.2565 - ปัจจุบัน |
ทำเนียบประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง
คนที่ | ชื่อ-สกุล | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | นายทองใบ สาภักดี | 2540 - 2544 |
2 | นายสุดใจ อุทัยน้อย | 30 มิ.ย. 2544 - 30 ส.ค. 2546 |
3 | นายชวลิต พันจักร | 1 ก.ย. 2556 - 2548 |
4 | นายพันธ์แบ้ง เทพศิริ | 20 ก.ย. 2548 - 30 ก.ค. 2552 |
5 | นายหมาย ศรีบุญเรือง | 16 ต.ค. 2552 - 5 ก.ย. 2556 |
6 | นายทองแดง อุทัยแสน | 20 พ.ย. 2556 - 22 ธ.ค. 2558 |
7 | นายจักรี อาจจุลลา | 23 ธ.ค. 2558 - 10 พ.ย. 2560 |
8 | นายถนอม นาชัยฤทธิ์ | 16 พ.ย. 2560 - ปัจจุบัน |
3.ประชากร |
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง มีประชากรทั้งสิ้นจำนวน 5,137 โดยแยกเป็น ชาย 2,590 คน หญิง 2,547 คน และมีจำนวน 1,711 หลังคาเรือน (ข้อมูล เดือน 1 ถึง 13 มีนาคม 2566 จากฝ่ายทะเบียนราษฎร์ ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม)
หมู่บ้าน | ชาย (คน) | หญิง (คน) | รวม (คน) | ครัวเรือน (หลัง) |
หมู่ที่ 1 บ้านหัวนาคำ | 188 | 206 | 394 | 131 |
หมู่ที่ 2 บ้านป่ากุง | 83 | 81 | 164 | 67 |
หมู่ที่ 3 บ้านหนองคู | 413 | 419 | 832 | 289 |
หมู่ที่ 4 บ้านจำนัก | 471 | 455 | 926 | 276 |
หมู่ที่ 5 บ้านโคกศรี | 357 | 353 | 710 | 241 |
หมู่ที่ 6 บ้านหนองปลิง | 592 | 571 | 1,163 | 376 |
หมู่ที่ 7 บ้านโนนสมบูรณ์ | 134 | 146 | 280 | 101 |
หมู่ที่ 8 บ้านศรีวิลัย | 352 | 316 | 668 | 230 |
รวม | 2,590 | 2,547 | 5,137 | 1,711 |
4.สภาพทางสังคม |
4.1 การศึกษา
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง จำนวน 1 แห่ง
-โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
1) โรงเรียนบ้านหนองคู
2) โรงเรียนบ้านจำนัก
3) โรงเรียนบ้านหนองปลิง
-ศูนย์กศน. ประจำตำบลหนองปลิง จำนวน 1 แห่ง
-ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (ศรช.) ประจำตำบลหนองปลิง จำนวน 1 แห่ง
-ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน จำนวน 8 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (บ้านหัวนาคำ) จำนวน 1 แห่ง
-ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน(ศสมช.) จำนวน 7 แห่ง
4.3 อาชญากรรม
-ปัญหาด้านอาชญากรรม มีปัญหาลักเล็กขโมยน้อย แต่ไม่มีอาชญากรรมร้ายแรง
4.4 ยาเสพติด
-มีกลุ่มเยาวชนบางส่วนที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และคนกลุ่มนี้ส่วนมากจะไม่เรียนหนังสือ
4.5 การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ได้ดำเนินการด้านสังคมสังเคราะห์ ดังนี้
(1) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(2) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
(3) ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป
(4) ดำเนินโครงการสงเคราะห์ครอบครัวผู้ยากไร้ที่ตกเกณฑ์ จปฐ.
(5 ดำเนินโครงการสร้างและซ่อมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้ รายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
(6) อุดหนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน
(7) ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน
(8) จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
5.ระบบบริการพื้นฐาน |
5.1 การคมนาคมขนส่ง
ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองมหาสารคาม มีเส้นทางคมนาคมหลายสาย แต่สภาพของถนนบางสายเป็นหลุมเป็นบ่อ ไม่มีท่อระบายน้ำ และเป็นถนนลูกรัง ส่วนถนนสายหลัก คือถนนสายมหาสารคาม - วาปีปทุม(ทางหลวงหมายเลข 2040) และถนนสายมหาสารคาม – แกดำ (ทางหลวงหมายเลข 2380)
5.2 การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้า
ส่องสว่างทาง หรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ องค์การบริหารส่วนตำบลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการ ที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน
5.3 การประปา
1. ประปาผิวดินขนาดกลาง บ้านหัวนาคำ ม.1 จำนวน 1 แห่ง
2. ประปาบาดาล บ้านป่ากุง ม.2 จำนวน 1 แห่ง
3. ประปาผิวดินขนาดใหญ่ บ้านหนองคู ม.3 จำนวน 1 แห่ง
4. ประปาผิวดินขนาดกลาง บ้านจำนัก ม.4 จำนวน 1 แห่ง
5. ประปาบาดาล บ้านจำนัก ม.4 จำนวน 3 แห่ง
6. ประปาผิวดินขนาดใหญ่ บ้านโคกศรี ม.5 จำนวน 1 แห่ง
7. ประปาผิวดินขนาดใหญ่ บ้านหนองปลิง ม.6 จำนวน 1 แห่ง
8. ประปาผิวดินขนาดกลาง บ้านหนองปลิง ม.8 จำนวน 1 แห่ง
5.4 โทรศัพท์
-ปัจจุบันในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง เช่าสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงไม่มีไปรษณีย์ แต่มีบริการไปรษณีย์จากไปรษณีย์ประจำอำเภอ ซึ่งมี จำนวน 1 แห่ง ให้บริการ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์
- มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านมีครบทั้ง 8 หมู่บ้าน
- มีบริการให้ใช้อินเตอร์เน็ตฟรี ที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง มีวัสดุ ครุภัณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็มีบางรายการที่ยังขาดแคลนเนื่องจากมีงบประมาณไม่เพียงพอ วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ นั้นมีไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงในการดำเนินภารกิจบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น แต่หากประชาชนเดือดร้อน หรือหน่วยงานอื่นเดือนร้อน ก็สามารถมายืมใช้ได้
6. ระบบเศรษฐกิจ |
6.1 การเกษตร
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมี
กิจกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ทำนา รองลงมา คือ ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง ทำสวน และบางหมู่บ้านมีอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน
6.2 การประมง
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงไม่มีการประมง เป็นการจับปลาตามธรรมชาติในการ
บริโภคในครัวเรือนตามฤดูกาลเท่านั้น
6.3 การปศุสัตว์
การปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ เพื่อจำหน่ายและบริโภคเองในครัวเรือน
6.4 การบริการ
-
6.6 การท่องเที่ยว
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ และส่งเสริมกิจกรรมของวัด
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
ธนาคาร - แห่ง
บริษัท - แห่ง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2 แห่ง
ปั้มน้ำมันหรือปั้มก๊าซ 3 แห่ง
ร้านจำหน่ายรถยนต์ (มือสอง) 1 แห่ง
ร้านจำหน่ายยางรถยนต์ (มือสอง) 2 แห่ง
โรงกลึง 3 แห่ง
โรงสีข้าวขนาดเล็ก 2 แห่ง
ร้านค้าของชำหรือของเบ็ดเตล็ด 25 แห่ง
ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง 3 แห่ง
ร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ 8 แห่ง
ร้านซ่อมรถยนต์ 3 แห่ง
ตลาดนัด (เร่ขาย) - แห่ง
ร้านเสริมสวย 1 แห่ง
ร้านขายเนื้อ 2 แห่ง
ร้านจำหน่ายขนมจีน 1 แห่ง
โรงปลาทู 2 แห่ง
โรงชำแหละไก่ 1 แห่ง
โรงไม้แปรรูป 2 แห่ง
ร้านอาหารตามสั่ง 1 แห่ง
ร้านขายส้มตำ 3 แห่ง
กิจการบ้านเช่า 1 แห่ง
ร้านอินเตอร์เน็ต+เกมส์ 0 แห่ง
โรงแรม/รีสอร์ท 1 แห่ง
เช่าสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์ 7 แห่ง
(ระบบ AIS 2 แห่ง,DTAC 2 แห่ง,TRUE 3 แห่ง)
6.8 แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม |
7.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนในตำบลหนองปลิงจะนับถือศาสนาพุทธโดยมีศาสนสถาน 7 แห่ง ดังนี้
-วัด 4 แห่ง
-สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
-สำนักปฏิบัติธรรม 1 แห่ง
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
-บุญกุ้มข้าว เดือน ธันวาคม – มกราคม
-บุญข้าวจี่ เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์
-บุญเผวท เดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม
-สงกรานต์ เดือน เมษายน
-เข้าพรรษา เดือน กรกฎาคม
-บุญข้าวประดับดิน เดือน กรกฎาคม – กันยายน
-บุญข้าวสาก เดือน กรกฎาคม – กันยายน
-เข้าพรรษา ออกพรรษา เดือน กรกฎาคม ,ตุลาคม
-ลอยกระทง เดือน พฤศจิกายน
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
7.3.1 ภาษาท้องถิ่นของตำบลหนองปลิง คือ ภาษาอีสาน
7.3.2 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
-หมอสมุนไพร -หมอน้ำมัน
-หมอเป่า -หมอสูตร
-หมอรำผีฟ้า -หมอแคน
-หมอรำ -หมอจับเส้น
-หมอนวดแผนไทย -กระจ้ำ
-หมอพราหมณ์ -ย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ใบไม้
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
-ข้าวกล้องอินทรีย์ -ผ้าย้อมสีธรรมชาติ
-ผ้าทอพื้นเมือง -ข้าวแต๋น
-อาหารแปรรูป -ผักปลอดสารพิษ
-ทำจักรสานจากไม้ไผ่ เช่น เปลไม้ไผ่ โต๊ะเก้าอี้ แคร่ไม้ไผ่ สุ่ม ไม้กวาด ฯลฯ
8.ทรัพยากรธรรมชาติธรรม |
8.1 น้ำ
มีแหล่งน้ำธรรมชาติ
-หนองดอนบ้านหัวนาคำ ม.1 จำนวน 1 แห่ง
-หนองคู ม.3 จำนวน 1 แห่ง
-หนองไฮ ม.4 จำนวน 1 แห่ง
-หนองคู ม.4 จำนวน 1 แห่ง
-สระน้ำสาธารณประโยชน์ ม.4 จำนวน 1 แห่ง
-สระน้ำโรงเรียนบ้านโคกศรี ม.5 จำนวน 1 แห่ง
-สระน้ำวัดบ้านโคกศรี ม.5 จำนวน 1 แห่ง
-หนองน้ำสาธารณบ้านหนองปลิง ม.6 จำนวน 1 แห่ง
-ห้วยเครือซูด ม.5 จำนวน 1 แห่ง
8.2 ป่าไม้
1. ป่าสงวนแห่งชาติโคกหินลาด จำนวน 3,750 ไร่
2. ที่สาธารณะโคกหินตั้ง(ป่าชุมชน) จำนวน 442 ไร่
3. ป่าชุมชนหนองปลิง จำนวน 193 ไร่
4. ป่าชุมชนโคกศรี จำนวน 46 ไร่
5. เพื่อประโยชน์การประถมศึกษาโรงเรียนบ้านโคกศรี จำนวน 19 ไร่ 28.4 วา
(เลขที่ นสล. มค 0582 เลขที่ดิน 212)
6. หนองไฮสาธารณประโยชน์ จำนวน 4 ไร่ 2 งาน 52 วา
(เลขที่ นสล.46020)
7. ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ บ้านจำนัก จำนวน 21 ไร่ 3 งาน 59 วา
(เลขที่ นสล.46021)
8. ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ บ้านจำนัก จำนวน 9 ไร่ 2 งาน 35 วา
(เลขที่ นสล.46022)
9. ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ บ้านหนองปลิง จำนวน 20 ไร่ 2 งาน 38 วา
(เลขที่ นสล.46023)
10. ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ บ้านหนองปลิง จำนวน 61 ไร่ 8 วา
(เลขที่ นสล.46970)
11. ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ บ้านหนองปลิง จำนวน 19 ไร่ 89 วา
(เลขที่ นสล.46971)
12. ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ บ้านหนองปลิง จำนวน 26 ไร่ 3 งาน 36.7 วา
(เลขที่ นสล. มค 0858 เลขที่ดิน 338)
8.3 ภูเขา
-ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงไม่มีภูเขา
8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-พื้นที่ป่าธรรมชาติของตำบลหนองปลิง คือป่าโคกหินลาด ซึ่งเป็นป่าสาธารณะที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของป่าพื้นบ้านไว้ได้อย่างดี และมีพื้นที่ป่าขนาดเล็กสลับกับพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งมีพื้นที่ป่าโดยรวมแล้วประมาณ 4,374 ไร่ พบทั้ง 8 หมู่บ้าน ปัจจุบันได้จัดเป็นที่ สปก.ไปบ้างแล้ว ซึ่งจะใช้ประโยชน์ร่วมกันกับตำบลโคกก่อและตำบลดอนหว่าน